การใช้คุกกี้

เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้คุกกี้จำเป็นเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และอาจใช้คุกกี้ชนิดจดจำข้อมูลซึ่งคุณสามารถเลือกเปิดหรือปิดการใช้งานได้ เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ โดย เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน จะไม่ใช้คุกกี้ชนิดนี้หากคุณเลือกปิดการใช้งาน การใช้เครื่องมือนี้ จะติดตั้งคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อที่จะจดจำข้อมูลการตั้งค่าต่างๆ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุกกี้ที่ เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้ สามารถดูได้ที่หน้าเว็บ “คุกกี้”


คุกกี้ที่จำเป็น

คุกกี้เหล่านี้ที่จำเป็นในการเปิดใช้คุณลักษณะการทำงานพื้นฐานของเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการเครือข่าย การเข้าสู่ระบบ คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์


คุกกี้วิเคราะห์

เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้คุกกี้ Google Analytics เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยรวบรวมและรายงานข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ คุกกี้ดังกล่าวจะเก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวบุคคลโดยตรง

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่หน้าเว็บ “คุกกี้”


นโยบายความเป็นส่วนตัว
close

ลงทุน RMF & SSF อย่างไร เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่

ลงทุน RMF & SSF อย่างไร เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่

โค้งสุดท้ายปี 2565 เหลือเวลาไม่มากสำหรับการวางแผนจัดการภาษีของปีนี้ หากสำรวจข้อมูลสิทธิภาษีที่มี เช่น มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หรือประกันบำนาญอยู่ แล้วยังมีช่องว่างลดหย่อนภาษีเหลือ ก็ยังมีการลงทุนเพื่อเกษียณในกองทุน RMF และการออมระยะยาวกับกองทุน SSF เป็นทางเลือกเพิ่มเติมที่ช่วยบรรเทาภาระภาษีได้
.
และเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ อย่าลืม! เช็กเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของ 2 กองทุนดังกล่าว
.
• RMF ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท มีเงื่อนไขถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปี และขายคืนได้เมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ (ตามวันเกิด) โดยจะต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี การนับต่อเนื่องจะนับเฉพาะปีที่ซื้อเท่านั้น
• SSF ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท จะขายคืนได้เมื่อถือครองไม่น้อยกว่า 10 ปี ไม่มีเงื่อนไขการซื้อต่อเนื่อง
ทั้งนี้ สิทธิการลดหย่อนภาษี RMF และ SSF นั้น เมื่อรวมกับการออมเพื่อการเกษียณอื่น ๆ จะลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
(SSF+RMF+กอช.+PVD/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครู+ประกันบำนาญ = ไม่เกิน 500,000 บาท)
.
ข้อควรระวัง ผู้ลงทุนไม่ควรลงทุนเกินสิทธิของตน เพราะอาจก่อให้เกิดการผิดเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษี
.
*ที่สำคัญ* อย่าลืมแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี โดยตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้ลงทุนที่ซื้อ RMF และ SSF ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษี *ต้องแจ้งความประสงค์* ไปยัง บลจ. ที่ซื้อหน่วยลงทุนให้ครบทุกแห่ง ภายในวันทำการสุดท้ายของปี เพื่อให้ บลจ. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรโดยตรง แทนการที่ผู้ลงทุนยื่นเอกสารเอง โดยผู้ลงทุนแจ้งเพียงครั้งเดียวใช้ได้ตลอดไป ไม่ต้องแจ้งทุกปี หากไม่แจ้งความประสงค์อาจใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่ได้
.
ศึกษาความรู้การลงทุนเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.smarttoinvest.com

หมายเหตุ : ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของ RMF และ SSF ได้ที่
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 369 (SSF)
https://www.rd.go.th/.../news_law_update/2563/03/dg369.pdf
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได ฉบับที่ 401 (RMF)
https://www.rd.go.th/.../user_upload/kormor/newlaw/dg401.pdf
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 414 https://www.rd.go.th/.../user_upload/kormor/newlaw/dg414.pdf
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 415 https://www.rd.go.th/.../user_upload/kormor/newlaw/dg415.pdf

#กลต #Starttoinvest #smarttoinvest #RMF #SSF #ลดหย่อนภาษี