การใช้คุกกี้

เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้คุกกี้จำเป็นเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และอาจใช้คุกกี้ชนิดจดจำข้อมูลซึ่งคุณสามารถเลือกเปิดหรือปิดการใช้งานได้ เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ โดย เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน จะไม่ใช้คุกกี้ชนิดนี้หากคุณเลือกปิดการใช้งาน การใช้เครื่องมือนี้ จะติดตั้งคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อที่จะจดจำข้อมูลการตั้งค่าต่างๆ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุกกี้ที่ เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้ สามารถดูได้ที่หน้าเว็บ “คุกกี้”


คุกกี้ที่จำเป็น

คุกกี้เหล่านี้ที่จำเป็นในการเปิดใช้คุณลักษณะการทำงานพื้นฐานของเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการเครือข่าย การเข้าสู่ระบบ คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์


คุกกี้วิเคราะห์

เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้คุกกี้ Google Analytics เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยรวบรวมและรายงานข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ คุกกี้ดังกล่าวจะเก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวบุคคลโดยตรง

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่หน้าเว็บ “คุกกี้”


นโยบายความเป็นส่วนตัว
close

รู้ทันก่อนเป็นลูกหนี้! แบบไหนที่เป็น “หนี้ดี” และแบบไหนคือ “หนี้ที่ไม่ควรกู้”

รู้ทันก่อนเป็นลูกหนี้! แบบไหนที่เป็น “หนี้ดี” และแบบไหนคือ “หนี้ที่ไม่ควรกู้”

การกู้ยืมเงิน ก็คือการนำเงินในอนาคตของเรามาใช้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ถ้ามีเหตุผลที่ดีพอ และเรามีความรับผิดชอบมากพอที่จะชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม บางสิ่งบางอย่างก็ไม่เหมาะกับการที่จะเอาเงินกู้ยืมไปใช้จ่าย เพราะอาจทำให้งานเข้าได้ในอนาคต มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง ที่เราไม่ควรกู้เงินมาจ่าย

หนี้แบบไหน ที่พึงระวัง!

• สิ่งที่ไม่จำเป็น
อันนี้เรียกได้ว่าแน่นอนอยู่แล้ว หากคุณคิดจะกู้หนี้ยืมสินหรือรูดบัตรเพื่อไปซื้อของแบรนด์เนม ทานอาหารมื้อหรู เที่ยวต่างประเทศละก็ ควรเหยียบเบรกไว้ก่อนด่วน ๆ เพราะการก่อหนี้เป็นการสร้างภาระ วันพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้นก็ยังไม่รู้ อาจมีเหตุไม่คาดฝันทำให้เราไม่มีเงินจ่ายหนี้ก็ได้ ฉะนั้นเราไม่ควรเอาอนาคตทางการเงินของเราไปเสี่ยงเพิ่มขึ้นโดยแลกกับความฟุ่มเฟือยแค่ชั่วคราว ไม่คุ้มกันแน่นอน

• สิ่งที่ไม่ก่อรายได้
ก่อนจะตัดสินใจเป็นลูกหนี้ ลองถามตัวเองดูก่อนว่าเงินที่จะกู้มานี้จะเอาไปสร้างรายได้ให้งอกเงยได้ไหม ถ้าพิจารณาดูแล้วว่าเป็นอะไรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สร้างผลตอบแทน ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แบบนี้โอกาสจะกลายเป็นหนี้เสียในอนาคตก็ยิ่งมากขึ้นไปอีก เห็นทีอย่าเสี่ยงจะดีกว่า

• การลงทุนระยะยาว
การลงทุนมีหลายแบบ มีทั้งแบบที่ให้ผลตอบแทนในระยะสั้น และแบบให้ผลตอบแทนในระยะยาว หนี้สินก็เช่นกัน คือมีระยะที่ต้องชำระคืนทั้งสั้นและยาว ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยก็คือบางคนกู้ยืมหนี้สินระยะสั้น เอาไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว เช่น รูดบัตรเครดิต (ซึ่งเป็นหนี้สินหมนุเวียนระยะสั้น) ไปลงทุนในธุรกิจ (ซึ่งเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในระยะยาว) ผลก็คือ ยังไม่ทันได้ผลตอบแทนก็ถึงกำหนดต้องจ่ายหนี้ซะแล้ว ถ้าไม่มีเงินหมุนรับรองว่า “ช็อต” แน่ ๆ

• การลงทุนความเสี่ยงสูง
ระลึกไว้เสมอว่าการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ตราสารอนุพันธ์ สลากกินแบ่งรัฐบาล ของสะสมเก็งกำไร หุ้น ฯลฯ ควรใช้ “เงินเย็น” ไม่ควรใช้เงินที่กู้ยืมมา เพราะโอกาสจะได้ผลกำไรจากการลงทุนนั้นไม่แน่นอน แต่สิ่งที่แน่นอนคือเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ถ้าเกิดขาดทุนขึ้นมา อาจจะไม่มีเงินใช้หนี้ก็ได้ แบบนี้ย่อมไม่คุ้มที่จะเสี่ยง

• ทำบุญ / บริจาค
การทำนุบำรุงศาสนาหรือช่วยเหลือผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรทำเท่าที่กำลังเรามี ไม่ควรเลยจะต้องเดือดร้อนตัวเองไปกู้หนี้ยืมสินมา เพราะถึงแม้จะรู้สึกสบายใจในวันนี้ แต่จะพาลมาเดือดร้อนใจในวันที่ต้องใช้หนี้คืนนี่ล่ะ แบบนี้ไม่ดีแน่ ทำบุญไม่ต้องมากแต่ทำด้วยความสบายใจของทุกฝ่ายจะดีกว่า

 

แล้ว “หนี้ที่ดี” เป็นอย่างไร?

• หนี้ที่สร้างรายได้
ถ้าคุณมีแผนธุรกิจหรือแผนการลงทุนดี ๆ อยู่ แต่ยังขาดเงินทุนตั้งต้น การกู้ยืมก็เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะจะต่อไปจะกลายเป็นรายได้คืนกลับมา เช่น กู้มาเพื่อซื้อเครื่องจักรผลิตสินค้า รถยนต์สำหรับส่งของ เป็นต้น

• หนี้เพื่ออนาคต
เช่น การกู้ยืมเพื่อการศึกษาของตัวเองหรือของบุตรหลาน เพื่อฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ หาความรู้เพิ่มเติม เพิ่มโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ย่อมเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแน่นอน

• หนี้เพื่อความมั่นคงระยะยาว
เช่น กู้เพื่อซื้อบ้าน คอนโด ที่ดิน ฯลฯ เพราะสินทรัพย์เหล่ามีความคงทนถาวร สามารถต่อยอดไปสร้างรายได้โดยการปล่อยเช่า ขายต่อ หรือเป็นมรดกให้ลูกหลานได้