การใช้คุกกี้

เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้คุกกี้จำเป็นเพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และอาจใช้คุกกี้ชนิดจดจำข้อมูลซึ่งคุณสามารถเลือกเปิดหรือปิดการใช้งานได้ เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ โดย เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน จะไม่ใช้คุกกี้ชนิดนี้หากคุณเลือกปิดการใช้งาน การใช้เครื่องมือนี้ จะติดตั้งคุกกี้บนอุปกรณ์ของคุณเพื่อที่จะจดจำข้อมูลการตั้งค่าต่างๆ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุกกี้ที่ เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้ สามารถดูได้ที่หน้าเว็บ “คุกกี้”


คุกกี้ที่จำเป็น

คุกกี้เหล่านี้ที่จำเป็นในการเปิดใช้คุณลักษณะการทำงานพื้นฐานของเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย การบริหารจัดการเครือข่าย การเข้าสู่ระบบ คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์


คุกกี้วิเคราะห์

เว็บไซต์รู้เรื่องเงิน ใช้คุกกี้ Google Analytics เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยรวบรวมและรายงานข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ คุกกี้ดังกล่าวจะเก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวบุคคลโดยตรง

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่หน้าเว็บ “คุกกี้”


นโยบายความเป็นส่วนตัว
close

4 วิธีคุมเข้มรายจ่าย หยุดวงจรชีวิต “เดือนชนเดือน”

4 วิธีคุมเข้มรายจ่าย หยุดวงจรชีวิต “เดือนชนเดือน”

ในแต่ละวัน แต่ละเดือน เราต้องสูญเสียเงินกันไปเท่าไหร่กับรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เชื่อว่าหลาย ๆ คนเมื่อมีเสียงแจ้งเตือนดังขึ้นพร้อมกับข้อความที่บอกว่า เงินเข้าบัญชีแล้ว คงดีใจกันไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้นำเงินไปใช้จ่ายในสิ่งที่เราต้องการอย่างสบายใจ ซึ่งปัญหาที่ตามมานั่นก็คือ เงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือน หรือใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน นั่นเองค่ะ การใช้ชีวิตแบบนี้ในทุก ๆ  เดือนจะส่งผลให้ในอนาคตของเราไม่มีเงินเก็บ ไม่มีวินัยทางการเงินที่ดี

เพราะฉะนั้น 4 วิธีอุดรายจ่ายนี้จะมาช่วยหยุดปัญหาการใช้เงินแบบเดือนชนเดือน ช่วยลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยให้มีเงินเหลือเก็บอย่างแน่นอนค่ะ

1.จดบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ

ข้อดีของการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย คือเราสามารถรู้ได้ว่าในแต่ละเดือนมีรายรับเข้ามาเท่าไหร่ และใช้ออกไปเท่าไหร่ ซึ่งง่ายต่อการจัดประเภทค่าใช้จ่าย  และง่ายต่อการควบคุมลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น จุดเริ่มต้นง่าย ๆ เพียงแค่พกสมุดเล็ก ๆ กับปากกาติดตัวไว้ตลอด เมื่อมีการจ่ายอะไรออกไปก็จดลงไปในแต่ละวัน หรืออาจจะมีแอปพลิเคชั่นรายรับ-รายจ่ายโหลดติดไว้ในเครื่องก็ได้เช่นกันค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมรายจ่ายในแต่ละเดือน และช่วยให้เรามีเงินเก็บเพิ่มขึ้นได้ค่ะ

2.ตั้งกฎเหล็กในการใช้จ่ายอย่างชัดเจน

หากต้องการที่จะจัดการายจ่ายแต่ละเดือนให้อยู่หมัดและมีเงินเก็บเพิ่มเร็ว ๆ  สิ่งสำคัญที่ควรทำคือ ตั้งกฎเหล็กค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน ลิสต์แต่ละข้อว่าในแต่ละเดือนจะมีรายจ่ายอะไร และกำหนดจำนวนเงินของรายจ่ายนั้น ๆ เช่น ค่าอาหาร 5,000 บาทต่อเดือน, ค่าความบันเทิง 2,500 บาทต่อเดือน, ค่าเดินทาง 4,000 บาทต่อเดือน, ฉุกเฉิน 2,000 บาทต่อเดือน, เงินออมและเงินลงทุน 3,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น ซึ่งการตั้งกฎด้วยการกำหนดจำนวนเงินแต่ละเดือนเช่นนี้จะช่วยให้เรารู้จักควบคุมรายจ่ายไม่ให้เกินกว่าที่กำนดไว้ได้ค่ะ

3.รู้จักเปรียบเทียบราคาก่อนซื้อ

เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยมีพฤติกรรมที่ชอบเปรียบเทียบสินค้าที่มีความคล้ายกันก่อนซื้อไม่มากก็น้อย เพื่อต้องการได้สินค้าที่ราคาถูก และมีคุณภาพดี ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ถือเป็นข้อดีค่ะ ถือเป็นการสร้างวินัยทางการเงินอย่างหนึ่งด้วย ช่วยให้เรารู้จักการเปรียบเทียบและหาสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเรา และเป็นการควบคุมรายจ่ายแต่ละเดือนไปในตัว ฉะนั้นหากต้องการจะเริ่มต้นควบคุมรายจ่ายในแต่ละเดือนวิธีการเปรียบเทียบสินค้าก็เป็นทางเลือกที่ดีนะคะ

4.ตั้งสติก่อนใช้สตางค์

กว่าจะหาเงินมาแต่ละบาทไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนที่จะใช้จ่ายอะไรจึงจำเป็นที่จะต้องคิดให้ดีก่อนค่ะ โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาแพงเกินกว่ารายรับ หรือสินค้าที่ไม่ได้มีความจำเป็นนักในชีวิตประจำวันของเรา แม้กระทั้งป้ายเซลล์สินค้า โปรโมชั่นลดราคาต่าง ๆ ที่มาล่อใจให้ซื้อ เพราะเมื่อลองคำนวณค่าใช้จ่ายให้ดีแล้วอาจไม่คุ้มกันแน่นอน ฉะนั้นหากไม่อยากให้เกิดรอยรั่วในกระเป๋า เราจึงจะต้องควบคุมรายจ่าย อุดรอยนั้นไว้ไม่ให้ร้าวขึ้นมานั่นเองค่ะ

แนวทางการควบคุมรายจ่าย หยุดการใช้เงินเดือนชนเดือนนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยหยุดรายจ่ายฟุ่มเฟือยต่าง ๆ ได้คือการควบคุมตนเอง สร้างวินัยทางการเงินและวางแผนการเงินในแต่ละเดือนอย่างรัดกุม หากทำได้เราจะมีอิสรภาพการเงินในชีวิตที่ดีอย่างแน่นอนค่ะ

อัพเดทล่าสุด 29 ตุลาคม 2020